เมนู

เนื่องมาแต่มหาภูตรูปคือวาโยธาตุ ลมหายใจเข้าออกนี้เรียกว่ากาย จะถือว่าเป็นชีวิตนั้นไม่ควร
และกายสังขารคือลมหายใจเข้าออกนี้ก็ตั้งอยู่ในขันธ์ทั้ง 5 มีรูปขันธ์เป็นต้น อธิบายทั้งนี้จะให้
เข้าใจว่ากายสังขารนี้เป็นชื่อแห่งลมหายใจเข้าออก โลกย่อมพูดกันว่าเราท่านทุกวันนี้ มีลมหายใจ
เข้าออกอยู่ก็ว่าคนและคำอันนี้ว่าแต่พอจะให้เห็นพระทุกขังพระอนิจจังพระอนัตตา แต่ว่า
ลมหายใจเข้าออกนี้จะถือว่ามีพร้อมกันอยู่แล้ว เรียกว่าเป็นชีวิตนั้นไม่ได้ เป็นแต่บำรุงกาย
บำรุงชีวิตและลมหายใจ จะเป็นชีวิตหามิได้
อันตกายปัญหา คำรบ 4 จบเท่านี้

ปัพพชาปัญหา ที่ 5


อถ โข นาคเสโน

อันดับนั้นแท้จริง เมื่อพระนาคเสนผู้มีอายุ มิ่งมงกุฎวิสุทธิสงฆ์
องค์อรหันต์ เทศนาโปรดอันตกายอำมาตย์แล้ว ก็ดำเนินลีลาศเข้าสู่พระนิเวศน์วังใน เสด็จขึ้น
ไปบนปราสาท นิสัชนาการนั่งเหนือปัญญัตตาอาสน์กับพระภิกษุแปดหมื่น
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นพิภพขึ้นชมพูทวีป ก็ทรงรับรัดเร่งให้ปรนนิบัติด้วยโภชนียะ
ของเคี้ยวของกัดดูดดื่มอันประณีตบรรจง ยังพระนาคเสนกับพระภิกษุสงฆ์ให้อิ่มหนำสำราญแล้ว
สมเด็จบรมบพิตรก็ถวายไตรจีวรให้ทั้งแปดหมื่นแล้ว ก็มีพระทัยชื่นชมต่อบรมทาน จึงมีพระ
ราชโองการให้พระนาคเสนเอาภิกษุหนุ่มไว้แต่ 10 องค์ นิมนต์พระภิกษุมากกว่านั้นอันเฒ่า
แก่กลัวนั่งเจ็บหลัง นิมนต์กลับไปยังอสงไขยบริเวณ
ส่วนสมเด็จกรุงมิลินท์ก็จับเอาอาสนะนั่งใกล้พระนาคเสนองค์เอกอรหันต์ อายสฺมนฺตํ
นาคเสนํ เอตทโวจ
จึงมีสุนทรพจนารถราชโองการประภาษว่า ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า มยํ
เราทั้ง 2 นี้จะสนมานาพาทีด้วยเหตุอันใดดี ในกาลบัดนี้
ฝ่ายพระนาคเสนเถรเจ้า จึงมีเถรวาจาถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราช-
สมภารผู้ประเสริฐ อามตากับมหาบพิตรนี้คิดวาจะสนทานกันที่เป็นประโยชน์ ขอถวายพระพร
ขณะนั้นกรุงมิลินท์ปิ่นประชากรมีสุนทรพจนารถราชโองการ ตรัสถามปัญหาเหมือน
อันถามแล้วในวันก่อนนั้นว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า บรรพชาของพระผู้เป็นอุดมอย่างไร
บรรพชานี้จะให้ประโยชน์อะไร

พระนาคเสนก็แก้ไขเหมือนอันวิสัชนาในวันก่อนว่า ขอถวายพระพร บรรพชานี้เพื่อจะ
ให้ระงับทุกข์คือทุกข์ 4 กอง มีชาติทุกข์เป็นต้นให้ระงับดับไป มิให้ทุกข์อื่นบังเกิด คือ จะเกิด
อีกนั้นมิให้มีประการ 1 อีกประการหนึ่งเล่า ปรมตฺโถ มีอรรถอันอุดมคือ จะให้ได้พระนิพพาน
อนุปาทาโน หาเชื้อกิเลสตัณหามิได้ ขอถวายพระพร สิ้นคำวิสัชนาพระนาคเสนเท่านี้
พระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดี เอาปัญหาที่ถามแล้ว กลับเอามาถามอีก หวังจะตั้ง
เป็นเหตุจะได้ถามลักษณะแห่งบุคคลบรรพชา เหตุฉะนี้พระองค์จึงมีพระราชปุจฉาถามพระนาคเสน
ฉะนี้ว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ลักษณะบุคคลจะเข้าบรรพชาบวชในพระพุทธุบาทศาสนานี้มี
ประโยชน์อย่างไร
พระนาคเสนถวายพระพรว่า ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐในสิริมไหศวรรย์
คนทั้งหลายคิดต่างกัน บางพวกนั้น ราชวินีตา คือ ท้าวพระนาเบียดเบียนใช้สอย หนีออกไป
บวชในพระพุทธศาสนาก็มี ราชาโนวงฺกตตฺถาย บางทีบรรพชาเพื่อจะให้คุ้นเคยท้าวพระยา
รู้จักมักใคร่ก็มี อิสฺสริยตฺถาย บางทีบวชเพื่อจะได้อิสริยยศเป็นที่ทางอันใหญ่ ชีวิกตฺถาย
บางทีบวชเพื่อจะได้อาหารเลี้ยงชีวิต ภยภีตาย บางทีคิดกลัวภัยโจรจะคอยฆ่า กลัวภัยท้าว
พระยาจะฆ่าตี กลัวภัยเจ้าหนี้จะตามทวงกลัวทั้งปวงนี้ก็หนีเข้าบรรพชา ที่ว่าจะคิดถึงตัวกลัว
ภัยในสงสาร ออกบรรพชาปรารถนาพระนิพพานก็มี ขอถวายพระพร
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นสาคลนคร จึงมีพระราชโองการย้อนถามว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า
พระผู้เป็นเจ้านี้มาบรรพชาจะปรารถนาอย่างไร นิมนต์วิสัชนาให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนถวายพระพรว่า ดูรายะมหาบพิตร อาตมานี้บรรพชาแต่ยังเป็นทารกได้ 7
ขวบก็หารู้ไม่ ครั้นจำเริญใหญ่ขึ้นมา ท่านสมณะที่เป็นสากยบุตรพุทธชิโนรสผู้ใหญ่ฝึกสอน
อาตมาโดยให้มีสติปัญญารู้ซึ่งพุทธาธิบาย บัดนี้อาตมาบรรพชาก็หมายจะใคร่ได้พระนิพพาน
ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นสาคลนครก็รับคำสรรเสริญว่า กลฺโลสิ พระผู้เป็นเจ้า
กล่าวนี้สมควรแล้ว
ปัพพชาปัญหา คำรบ 5 จบเท่านี้

ปฏิสนธิคหณปัญหา ที่ 6


ครั้งนั้นพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดีจึงมีพระราชปุจฉาถามอรรถปัญหาอันอื่น ต่อไปว่า
ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า คนที่ตายไปแล้ว จะไม่ปฏิสนธิเกิดมาเป็นร่างกาย
จิตใจสูญไปนี้ จะมีบ้างหรือ หรือว่าไม่มี
พระนาคเสนได้ฟังพระโองการฉะนี้จึงถวายพระพรว่า ดูรานะมหาบพิตร คนบางจำ
พวกดับจิตแล้วไม่เกิดอีกก็มี ที่กลับมาเกิดอีกก็มี
พระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดีจึงซักถามต่อไปนี้ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็น
เจ้าว่าบุคคลที่ดับจิตไม่ได้เกิดอีกนั้น ได้แก่คนจำพวกใด คนที่ดับจิตตายไปแล้วกลับเกิดใหม่นั้น
ได้แก่คนจำพวกใด นิมนต์วิสัชนาไปให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตร คนที่มีราคาทิกิเลสดับจิตแล้วเกิด
ใหม่ ที่หากิเลสมิได้ดับจิตแล้วไม่เกิดอีก ขอถวายพระพร
พระเจ้ากรุงมิลินท์จึงย้อนถามว่า ก็พระผู้เป็นเจ้านี้เล่าดับจิตแล้วจะเกิดใหม่ หรือว่าไม่
เกิดอีกในภพเป็นประการใด
พระนาคเสนวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ ถ้าว่า
อาตมาประกอบไปด้วยกิเลส ดับจิตไปก็ต้องเกิดใหม่ ถ้าว่าอาตมาหากิเลสมิได้ก็จะดับสูญไป
ไม่เกิดอีก ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นสาคลนคร ก็มีพระโองการสรรเสริญว่า กลฺโสสิ พระผู้เป็น
เจ้าวิสัชนานี้สมควรแล้ว
ปฏิสนธิคหณปัญหา คำรบ 6 จบเท่านี้

มนสิการปัญหา ที่ 7


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์มีพระราชโองการตรัสถามอรรถปัญหาต่อไปว่า
ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า โยมนี้ยังสงสัยอยู่ ด้วยบุคคลไม่ปฏิสนธิคือไม่เกิด
ใหม่นั้น ไม่เกิดใหม่ด้วยโยนิโสมนสิการดังฤๅ